หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท และปริญญาเอก)

สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

วันบัณฑิตศึกษาและการศึกษานานาชาติ

วันบัณฑิตศึกษาและการศึกษานานาชาติ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) วิศวกรรมไฟฟ้า และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) วิศวกรรมไฟฟ้า ได้เข้าร่วมงานวันบัณฑิตศึกษาและการศึกษานานาชาติ เปิดเวทีนำเสนอผลงานทางวิชาการ มุ่งสู่เป้าหมาย “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน”

วันที่ 14 มีนาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานเปิดงานวันบัณฑิตศึกษาและการศึกษานานาชาติเพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการสื่อสารและการนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ นอกจากนั้น ยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการทั้งเชิงลึกและบูรณาการของนักวิชาการและอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาของ มทร.ล้านนา ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายการเป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน”ณ ห้องประชุมทองกวาว อาคารเรียนรวม มทร.ล้านนา

โดยในกิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านวิชาการ หัวข้อ To seek and educational model capable of adapting to the changes in the working landscape of the new era with ease and flexibility โดย ดร.พรเพ็ญ แซ่อึ้ง ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย กลุ่มยุทธศาสตร์นวัตกรรมอุดมศึกษาและการพัฒนากำลังคนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) การบรรยายในหัวข้อ To share academia career experience in U.S. describe some reform activities in curriculum and university education and  discus some thoughts for improving graduate education.โดย Prof. Ming-Ting Sun การบรรยายในหัวข้อ To share of how emotions can facilitate a harmonious relationship between machines (artificial intelligence, robots, etc.) and humans. โดยProf. Kou Yamada การวิพากษ์ผลงานวิชาการโดยศาสตราจารย์ ดร.โกสินทร์ จำนงไทย และศาสตราจารย์ ดร.อภิชาต โสภาแดง และการนำเสนอผลงานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในรูปแบบโปสเตอร์และรูปแบบ Oral

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายให้มีคุณภาพ มาตรฐานและยืดหยุ่นเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย หรือ Lifelong Learning โดยกำหนด Flagship ของ มทร.ล้านนา ด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย บริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และโครงการใต้ร่มพระบารมี สอดคล้องกับจุดแข็งของมหาวิทยาลัย คือ ด้านการพัฒนา Agricultural technology การเป็น Lanna BCG model enhancer การพัฒนา Engineering technology สู่การเป็น University Industry Linkage การพัฒนา Entrepreneurship ไปสู่ Smart Entrepreneur การพัฒนา Creative Lanna ไปสู่ Lannanization และการพัฒนา Technology Education ไปสู่ Quadruple System for Human Capital Building นอกจากนั้น มทร.ล้านนา ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและการศึกษานานาชาติ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังคนในสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานและยุทธศาสตร์ที่ 4 ประกอบด้วย 1) พัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา นักวิทยาศาสตร์และนวัตกรทุกคนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่จำเป็นควบคู่กับการมีสมรรถนะสูงด้านวิชาชีพและวิชาการ 2) ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนานักวิทยาศาสตร์และนวัตกรทักษะสูงที่ตรงตามความต้องการของประเทศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม 3) พัฒนาการเป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูง (Hub of Talent) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ของอาเซียนและนานาชาติ